เป็นการเสริมจมูกแบบ “ปลายไร้ซิลิโคน” โดยใช้ซิลิโคนเพียง 2 ใน 3 ของความยาวจมูก ในการเพิ่มความสูงของสันจมูกให้โด่งขึ้น ส่วนในบริเวณปลายจมูกจะมีการยืดกระดูกอ่อนปลายจมูกโดยใช้กระดูกอ่อนหลังหูพร้อมเนื้อเยื่อหลังหูมาเพิ่มความยาวปลายจมูก ซึ่ง “แตกต่างจากวิธีรองปลายจมูก” ที่ยังใช้ซิลิโคนบริเวณปลายจมูกอยู่ วิธีนี้จะทำให้ปลายจมูกเรียว เล็ก และพุ่งมากขึ้น ลดปัญหาเรื่องซิลิโคนทะลุ โดยเทคนิคนี้จะปรับโครงสร้างไม่มีแผลภายนอกรูจมูก
ปลายจมูกสั้น ปลายงุ้ม แกนจมูกเอียง และคนไข้ที่มีความกังวลแผลเป็นภายนอกรูจมูก
เป็นการปรับโครงสร้างของจมูกโดยปลายจมูกจะไร้ซิลิโคน และสามารถเสริมจมูกด้วยกระดูกอ่อนหลังหูของตนเองการทำจะคล้ายการทำOpenแต่จะมีการซ่อนแผลไว้ในรูจมูก ไม่ต้องมีการกีดแผลบริเวณ Columella (อยู่ระหว่างรูจมูก) ลดปัญหาหดลั้งหรือเนื้อตรงบริเวณ Columella
คือการเปิดโครงสร้างของจมูกใต้ผิวหนังทั้งหมดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ซ่อมแซม (Reconstruction) ส่วนที่ได้รับความเสียหาย ยืดปลายจมูก (Tip projection) ยืดผนังกั้นจมูก ( Septal extension) แก้ไขจมูกที่เบี้ยวเอียง (Deviation) เป็นต้น โดยจะมีการเปิดแผลภายในรูจมูกทั้ง 2 ข้างและเปิดแผลบริเวณระหว่างรูจมูก2ข้าง (Columella) เพื่อเปิดโครงสร้างภายในขึ้นมา สำหรับการยืดผนังกั้นจมูกจะใช้วัสดุต่าง ๆ ได้แก่ กระดูกอ่อน เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของตัวเอง เนื้อเยื่อเทียม กระดูกอ่อนเทียม เป็นต้น
การเสริมจมูกแบบเปิด แนะนำสำหรับผู้ที่มีปลายจมูกสั้น (Short nose) จมูกชมพู่ (Bulbous tip) จมูกเบี้ยวเอียง (Deviation) แก้มาหลายครั้ง (Multiple revision) หรือชอบจมูกที่ค่อนข้างพุ่ง (Patient favor) เป็นต้น ซึ่งการจะเลือกเสริมวิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้ว่าต้องการ ทรงจมูกแบบใด ฐานจมูกเดิมและเนื้อจมูกเป็นอย่างไร รวมทั้งพิจารณาถึง ข้อดีข้อเสีย ของแต่ละวิธีรวมถึงโรคประจำตัวของผู้ป่วยและระยะเวลาพักฟื้น ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
ในการผ่าตัดทั้ง 2 เทคนิคนี้ มักจะต้องใช้กระดูกอ่อนจากส่วนอื่นของร่างกายมาใช้เป็นโครงสร้างของจมูกที่จะเสริมใหม่ โดยวัสดุที่คลินิกเลือกนำมาใช้ ได้แก่ กระดูกอ่อนหลังหู (Ear cartilag), เนื้อเยื่อก้นกบ (Dermofat graft) หรือเนื้อเยื่อเทียม (Acellular Dermal Matrix) ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เพื่อช่วยยืดปลายจมูกให้พุ่งและสวยมากขึ้น
ซิลิโคนทำมาจากพอลิเมอร์ Dimethysiloxane polymer ซึ่งซิลิโคนจะมีหลายเกรดขึ้นอยู่กับส่วนผสมในกระบวนการผลิต โดยสารที่ใช้ในการคงรูปซิลิโคน หรือส่วนผสมที่ต่างกัน จะทำให้คุณภาพของซิลิโคนต่างกัน โดยดิอีสท์คลินิก จะใช้ซิลิโคนเกรดสำหรับปลูกฝังในร่างกาย (Implant grade) มีความบริสุทธิ์สูงกว่าซิลิโคนเกรดทางการแพทย์ (Medical grade) สามารถอยู่ในร่างกายได้ในระยะยาว
ซิลิโคน Implate grade จะช่วยลดโอกาสอักเสบ การแพ้ หรือโอกาสการเกิดมะเร็งในอนาคต (Noncarcinogen) ได้ อีกปัจจัยที่สำคัญ คือ การยึดเกาะกับเนื้อเยื่อของซิลิโคน (Adhesion) วัสดุที่ดีต้องยึดเกาะกับโครงสร้างของร่างกายได้ดีและมีความยืดหยุ่น (Elasticity)
นอกจากนี้ เรายังสามารถกำหนดค่าความนิ่มของซิลิโคนได้อีกด้วย ซึ่งค่าความนิ่มที่เหมาะสมในการเสริมจมูกอยู่ที่ 30-50 ดูโร (Durometer) หากซิลิโคนแข็งเกินไปจะทำให้เสี่ยงต่อการทะลุได้มากกว่า หรือซิลิโคนที่นิ่มเกินไปเมื่อนำใช้จะคงรูปทรงได้ไม่ดี ทำให้ไม่ได้ทรงที่ต้องการ
ไขมันปลายจมูก Supratip fat , Interdomal fat ที่มีมากเกินไปจะทำให้ปลายจมูกค่อนข้างอ้วน จมูกกลม จมูกชมพู่ ซึ่งพบมากในคนไทยและเอเชีย สามารถแก้ไขได้โดยการนำไขมันบริเวณนี้ออก เพื่อทำให้ได้ปลายจมูกเล็ก เรียว และสวยงาม
สำหรับบางท่านอาจมีปัญหากระดูกอ่อนปลายจมูกใหญ่ กาง หรืออยู่ห่างกัน ทำให้ปลายจมูกโตและใหญ่ การเย็บอินเตอร์โดม เป็นการเย็บกระดูกอ่อนปลายจมูก (Interdomal Sutering Technique) ใช้สำหรับแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้จมูกเล็กลงและสวยงามมากขึ้น
รอยเชื่อมของกระดูกสันจมูกและกระดูกอ่อนปลายจมูก (Osteocatilagenous junction/ Nasal hump) หากมีมากเกินไปจะใช้วิธีการตะไบในการเหลารอยเชื่อมดังกล่าวให้เรียบเนียนขึ้นเพื่อให้ได้สันจมูกที่เป็นสโลปสวย หรือกรณีที่มีกระดูกฐานจมูกกว้าง (wide nasal bridge) สามารถตะไบด้านข้างจมูกให้ดูเรียวเล็กลงได้
เหมาะกับกรณีที่มีกระดูกฐานจมูกกว้าง (wide nasal bridge) , ฐานจมูกเอียงหรือคด (์Nasal deviation) สามารถตอกฐานจมูกเพื่อให้มีสันจมูกที่เล็ก เรียว เด่นชัดขึ้น อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการเบี้ยวของฐานจมูก ให้กลับมาตรงขึ้น
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น